[BOOK] “และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ: การเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและปัญญาชน ก่อน 14 ตุลาฯ”

10384442_10152390601688235_3301986677177312744_n

“และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ: การเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและปัญญาชน ก่อน 14 ตุลาฯ”

โดย ประจักษ์ ก้องกีรติ
พิมพ์ครั้งที่ 2 (ตุลาคม 2556)

ขอพื้นที่ให้หนูโชว์โง่บ้าง

อ่านล่มนี้แล้ว (แน่นอนว่า นานๆ ทีจะอ่านงานวิชาการนอกเหนือจากที่เซนเซสั่งให้อ่าน …กรรม) พบว่า

-วัฒนธรรมการเมือง (Political Culture) มันเป็นคนละอันกับ การเมืองวัฒนธรรม (Cutural Politics) – งานที่ปรับปรุงมาจากธีสิสเล่มนี้ เน้นวิเคราะห์ “การเมืองวัฒนธรรม” (Cultural Politics)

– จิตร ภูมิศักดิ์ เกิด 2473 ถูกยิงตาย 2509 … และไม่ได้เกี่ยวข้องทางกายภาพใดๆ กับ 14 ตุลา 2516 (หรือ 6 ตุลา 2519) — เออ เพิ่งรู้นี่แหละ ><

-งานเขียนงานหนังสือพิมพ์ของ ศรีบูรพา (กุหลาบ สายประดิษฐ์), เสนีย์ เสาวพงศ์ (ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์) อิศรา อมันตกุล,ลาว คำหอม และอื่นๆ (เช่น นายผี) เป็นงานยุค 2490 เน้นวิพากษ์รัฐบาล ยุค จอมพล ป.(ยุคสอง) และสังคมยุคนั้น พอจอมพลสฤษดิ์ รัฐประหารอย่างเป็นทางการ 2501 งานเหล่านี้ และคนเหล่านี้ ก็ถูกกวาดล้าง ตรวจสอบ และทำให้หายไปจากความทรงจำของคนทั่วไป … นิสิตนักศีกษาที่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยยุค 2500 เรื่อยไป (ก่อนหน้า 14 ตุลา 2516) ไม่รู้จัก งานเขียนและนักเขียนเหล่านี้ พวกเขาโอบรับกระแส “ซ้ายใหม่” ตามกระแสนักศึกษาและปัญญาชนทั่วโลกในตอนนั้น โดยตั้งคำถามถึง “ซ้ายเก่า” ว่าเมืองไทยไม่เคยมี …จนกระทั่งพวกเขาได้อ่านงานเขียนในยุค 2490 พวกเขาถึงได้ค้นพบว่า …”เฮ้ย แก๊ มันเคยมี “ซ้ายเก่า” มาแล้วโว้ย แต่ทำไมกรูไม่เคยรู้” (กรูก็ไม่เคยรู้เหมือนกันนนนนน)

-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตอนเปิดตัวครั้งแรก (เดบิวต์ครับ เดบิวต์) เป็นมหาวิทยาลัยเปิด! ใครๆ ก็เรียนได้!

-ตอนที่ เสน่ห์ จามริก เป็นอาจารย์หนุ่มจบจากต่างประเทศ เข้ามาสอนรัฐศาสตร์ที่ มธ. นั้น เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ยังเป็นวัยรุ่นนักศึกษาอยู่ (อา…พวกเขาไม่ใช่คน “วัย”เดียวกันนะครัช)

-ยุคก่อนหน้า 14 ตุลา 2516 นักศึกษาและปัญญาชนค่อยๆ บ่มเพาะความคิดต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหาร พวกเขาใช้คำว่า “ขายชาติ”กับรัฐบาลจอมพลถนอม ขณะเดียวกัน พวกเขาก็มองว่า “คณะราษฎร์” คือรากหน่อของปัญหา “เผด็จการทหาร” ที่สืบต่อมาในประเทศ และพวกเขาอุ้มชูวาทกรรมราชาชาตินิยมประชาธิปไตยไว้ (พร้อมวาทกรรมอื่นๆ // ขี้เกียจย้อนเปิดดูว่ามีอะไรบ้างแล้ว)

-นักศึกษาก่อนยุค 14 ตุลา ก็รับเอาแนวคิด ชาตินิยม มาใช้ (อย่าปล่อยให้มะริกันมายึดประเทศที่บรรพบุรูษเราสู้ให้ได้มา) แต่เป็นคนละชาตินิยมแบบราชการ (official nationalism) ที่รัฐบาลเผด็จการทหารใช้

พอล่ะ รู้สึกโดนทุบหัวโง่ๆ พอล่ะ (คนอื่นเขาคงรู้หมดแล้วล่ะ กรูเพิ่งรู้นี่แหละ)

แต่ข้อสังเกตคือ ตัวละครหลักๆ ในหนังสือ (มันจะมีรวมลิสต์รายชื่อข้างท้ายด้วยนะ) ส่วนใหญ่เกิน 90% เป็น ผู้ชาย แทบไม่มีตัวละครหญิงโผล่มาเลย

ประวัติศาสตร์ยุคหนึ่งสะท้อนให้เราเห็นว่า รัฐไทยสมัยใหม่ ถูกขับเคลื่อน (และปะทะ) โดยเพศชายเป็นหลักสินะ

จบล่ะ / ไว้จำอะไรได้จะมาเขียนต่อ / แต่ตอนนี้เรามีนิยายประโลมโลกต้องอ่านต่อฮ่ะ / ต้องเขียนเรื่องญี่ปุ่นต่ออีก หวานแหววๆ