[before finishing] reading “I Am Malala”

อ่าน I Am Malala มาถึงบทที่ 16

I-am-Malala-800x480.jpg
รู้สึกทึ่งกับสิ่งที่เธอเล่ามาก แน่นอนว่างานเขียนชิ้นนี้ บรรณาธิการน่าจะมีบทบาทในการเคี่ยวกรำไม่น้อย แต่วัตถุดิบที่มาลาลาใส่เข้าไปในชิ้นงานดีมาก ไม่ได้หมายถึงเรื่องที่เธอโดนกลุ่มตาลีบันยิงศีรษะแล้วรอดฟื้นมาได้ แต่วิธีที่เธอเล่าถึง Swat Valley หุบเขาที่เธอเกิดและเติบโตมา คือวัตถุดิบชั้นเยี่ยมจริงๆ

การเล่าถึงบ้านเกิดของมาลาลา ทำให้เราหวนคิดถึงบ้านเกิดของตัวเอง มาลาลาบอกว่า Swat Valley ก่อนตาลีบันจะบุกเข้ามาคือสวรรค์ เราไม่เคยมองว่าบ้านเกิดเราคือสวรรค์ แต่เราคิดว่ามันพิเศษ ไม่ต่างจากที่มาลาลามอง Swat

การศึกษาที่มาลาลาได้รับช่างน่าทึ่ง เธอเรียนโรงเรียนสองภาษา บ้านก็ไม่ได้ร่ำรวย เราคิดภาพบ้านที่เธอบรรยายออกด้วยซ้ำ ในดินแดนที่เต็มไปด้วยปัญหา เราทึ่งที่เด็กที่เข้าเรียนโรงเรียนสองภาษาแบบมาลาลา (ซึ่งไม่ได้เหมือนโรงเรียนอินเตอร์ใน กทม แน่ๆ) ใช้ภาษาอังกฤษได้ดีอย่างน่าทึ่งตั้งแต่วัยสิบกว่าขวบ อันหมายถึงครูต้องมีบทบาทอย่างสูง เราย้อนกลับมามองเมืองไทย ภาษาอังกฤษไม่ใช่ทุกอย่าง แต่มีอะไรขัดขวางการพัฒนาทักษะของเด็กเราอยู่หนอ

โลกจะไม่รู้จักมาลาลามากขนาดนี้ ไม่ได้ฟังเรื่องเล่าจาก Swat Valley มากขนาดนี้ ถ้ามาลาลาสื่อสารภาษาอังกฤษไม่ได้ดีแบบนี้ ส่วนหนึ่งมันคือประตูที่เปิดเธอเข้าสู่โลกที่กว้างกว่าเดิม และเชื่อมให้เธอเล่าถึงสถานการณ์ Swat Valley ได้ดีขึ้น

หนังสือเล่มนี้ยังเปิดโลกอีกหลายอย่าง เรื่องที่ชาว Pashtun แห่ง Swat ไม่ถือตนเป็นปากีสถานหรืออัฟกานิสถาน ทำให้เราเรียนรู้การขีดเส้นพรมแดนของยุคสมัยใหม่ ว่ามีผลต่อชีวิตของผู้คน ชาว Swat ต้องกลายเป็นชาวปากีสถาน แม้พวกเขาจะรู้สึกว่าไม่ใช่ และอันที่จริงรัฐบาลปากีสถานก็ไม่ได้ปกป้องพวกเขาจากตาลีบันเลย

หนังสือที่ควรถูกบรรจุในชั้นเรียนไทย เพื่อให้เราได้เรียนรู้ถึงความหลากหลายบนโลก

Review BOOK: COOL JAPAN VOL. 2 ความงาม ความฝัน การแบ่งกั้น โลกแห่งความล่องลอย

หนังสือเล่มแรกที่อ่านจบในปี 2016

 

11221579_868726303213545_4720940779943010613_n

 

เป็นหนังสือที่ต่อยอดมาจาก Cool Japan เล่มหนึ่ง ที่ว่าด้วยความเจ๋งมวลรวมของญี่ปุ่น (ร่วมสมัย) เล่มแรกจะดูป๊อปๆ แต่เล่ม Vol.2 นี้ต่างออกไป ด้วยการนำเสนอด้วยตัวอักษร “คันจิ” (ตัวจีนที่ถูกใช้ในภาษาญี่ปุ่น) ที่สะท้อนปรัชญาและตัวตนของญี่ปุ่น กลุ่มตัวอักษรคันจิที่ทีมนักเขียนเลือกหยิบมาบรรยายถึงความเป็นญี่ปุ่น เป็นได้ทั้งสิ่งดึงดูดให้คนอ่าน และอาจทำให้คนงุนงง จนลืมที่จะอ่านทั้งเล่มก็ได้

สำหรับเรา ตอนแรกคิดว่าหนังสือเล่มนี้อาจจะน่าเบื่อ เพราะแค่เห็นคำอย่าง “ความนำสมัย” ประมาณนี้ เราก็คิดว่า คนเขียนดูจะโปรญี่ปุ่นมาก (แน่นอนว่า ถ้าไม่โปร ก็คงไม่เขียนถึง) และคงเล่าไปในแนวทางเดียวกันกับมนุษย์กลุ่มก้อนที่เชิดชูญี่ปุ่นมากๆ ชอบเล่าถึงญี่ปุ่นเป็นแน่ แต่พออ่านบทแรก ก็รู้สึกเหนือความคาดหมาย และที่ทำให้อ่านต่อได้ก็เพราะคนเขียนเลือกเล่าเรื่องผ่านภาพวาดของ “โฮะคุไซ” ศิลปินผู้วาดภาพแนวอุคิโยะ และเขาคือตำนานหน้าหนึ่งที่สำคัญมากของญี่ปุ่น

ที่ “โฮะคุไซ” ดึงดูดให้เราอ่านหนังสือนี้ต่อไปจนจบ เพราะว่า ตอนที่ไปญี่ปุ่นแรกๆ ทางคณะเคยจัดทริปพาเราไปนากาโนะและเมืองละแวกรอบๆ ทริปหนนั้น เราได้แวะพิพิธภัณฑ์และเมืองแห่งหนึ่งที่โฮะคุไซได้มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้เมืองในครั้งอดีต ตอนการเดินชมพิพิธภัณฑ์ เราจะเจอคำว่า “โฮะคุไซ” บ่อยมาก และไกด์ทัวร์บนรถ ก็ยังพูดพล่ามถึงแต่ “โฮะคุไซ” ตอนนั้นเราสงสัยอย่างจริงจังว่าทำไมต้องพูดถึงอิตาคนนี้ขนาดนี้ เพราะสำหรับเรา เราไม่ได้ชื่นชมภาพอันโด่งดังของเขา อย่างภาพคลื่นลมทะเลที่มีฉากหลังลิบๆ เป็นภูเขาไฟฟูจิ นั่นเลย แต่เคยมีเพื่อนต่างชาติคนหนึ่งเขียนโปสการ์ดหาเราด้วยโปสการ์ดลายนี้ ในทริปหนนั้น ถึงเราจะไม่ได้ประทับใจ “โฮะคุไซ” เลย แต่แปลกที่เรายังจดจำชื่อของเขามาจนถึงทุกวันนี้

จนกระทั่งมาเจอชื่อเขาอีกทีในหนังสือเล่ม Cool Japan Vol.2

หลังจากทีมนักเขียนเล่าเรื่องผ่านศิลปะอุคิโยะ ของโฮะคุไซ ทีมนักเขียนก็พาเราไปรู้จักญี่ปุ่นในมุมต่างๆ ที่ทั้งขัดแย้งกันเอง เช่น ความบ้าความหรูหรา แต่ก็มีด้านที่นิยมความว่าง การให้ค่ากับความไม่สมบูรณ์แบบ แต่ก็มุ่งมั่นทำงานให้ดีที่สุด

จริงๆ คิดว่า เราควรให้ดาวหนังสือสัก 3.5 แต่พอคิดไปคิดมา ก็ให้ 4 แล้วกัน เป็นหนังสือที่คนชอบญี่ปุ่นอยู่แล้วอาจจะชอบ แต่ถ้าเป็นคนที่ไม่ชอบญี่ปุ่นเลย ก็ไม่แน่ใจนัก

แต่ชอบการค้นข้อมูลของหนังสือมาก

อ้อ มีติดเรื่องเดียว เรื่องข้อมูลของ “ไซนิจิโคเรียน” หรือคนเกาหลีในสังคมญี่ปุ่น ด้วยความที่เราสนใจประเด็นนี้อยู่ เราคิดว่า หนังสือให้ข้อมูลไม่อัพเดทนะ เพราะเท่าที่ทราบ ไซนิจิโคเรียน เลือกได้ว่าจะถือสัญชาติญี่ปุ่นและมีสิทธิเลือกตั้ง หรือถือสัญชาติเกาหลีตามบรรพบุรุษ เพราะเรารู้จักคนที่เขาเปลี่ยนสัญชาติมาเป็นญี่ปุ่น แต่ในหนังสือ ระบุว่า ไซนิจิโคเรียนไม่มีสิทธิเปลี่ยนสัญชาติและไม่มีสิทธิเลือกตั้ง อันทำให้กลายเป็นกลุ่มที่กำหนดนโยบายต่างๆ ในสังคมญี่ปุ่นที่ตนอาศัยอยู่ไม่ได้

สำหรับใครที่อยากรู้จักญี่ปุ่นผ่านตัวอักษรคันจิ และอยากรู้ว่าโฮะคุไซ เกี่ยวพันอะไรกับกับชะตากรรมของญี่ปุ่น

ก็น่าจะลองหยิบเล่มนี้ขึ้นมาอ่านกัน

12 วันผ่าน ตรวจทาน New Year’s Resolution

1)จะทำเว็บ >>> ต้องเริ่มด้วยการดูคลิปที่สอนทำเว็บ ซึ่งคุณบุ้ยส่งให้อีกที >>> สรุปว่ายังดูไม่จบเบยยยยยย >>> fail
2)จะเขียนหนังสือให้จบ >>>เขียนครั้งสุดท้ายบนรถทัวร์นครชัย จาก กทม.กลับ กาฬสินธุ์ วันที่ 31 ธันวาคม พอดี >>> ปีนี้แค่เปิดอ่านไฟล์ดูเมื่อคืน ร้องไห้ อิน (จะบ้าเรอะ) แล้วสรุปก็ยังไม่ได้เขียนต่อ >>> fail
3)ทำคลิป “ญี่ปุ่นไม่สมบูรณ์แบบ” เทปสอง >>> จะปล่อยคลิปเสียงภายในสัปดาห์แรกหลังปีใหม่ >>> ตอนนี้สัปดาห์ที่สองแล้ว ยังไม่ได้เริ่มอัดเลย ฮา >>> fail สิคร้า รออะไรอยู่ล่ะ
4)ออกกำลัง >>> ขุดตัวเองไปวิ่งที่สวนลุมมาได้สามวันติด และค้นพบว่าสวนลุมเหมาะกับจังหวะวิ่งชมวิวของชาวเรามาก ฮา เป็นมิชชั่นเดียวที่ทำแล้วพึงพอใจตัวเองมากในตอนนี้ >>> win บ้างอะไรบ้างสินะ
5)จัดระเบียบการทำงานตามหลัก pomodoro (โฟกัสแบบเต็มที่ 25 นาที พัก 5 นาที นับเป็น 1 pomodoro กลับมาทำแบบเดิมอีก ถ้าครบ 4 pomodoro ให้พักได้ 30 นาที … เห็นสายวิทย์เขาเอามาทำแล้วเวิร์ก เลยลองเอามาทำกับงานเขียนบ้าง ทำมาได้สามวัน กับงานที่ทำอยู่ ก็เวิร์กอยู่นะ หลักใหญ่ใจความคือ ต้องไม่ว่อกแว่กใน 25 นาทีนั้น ห้ามไลน์ อีเมล อะไรใดๆ ทั้งสิ้น เหมือนจะนาน แต่ทำแป๊บเดียวก็ได้พักแล้ว เอา 5 นาทีนั้นน่ะ มาเช็คไลน์ได้)
ดูเพิ่มเติม: http://mennblog.com/2016/self-development-in-2015/
สรุป อันนี้ win
6)เปิดขายหมูแดดเดียวให้ครัวครูวิ สินค้าแรกในแบรนด์ครัวครูวิ >>> ยังไม่เปิดขายล็อตสาม กำลังจัดการระบบอยู่ (ถ้าจะมี) >>> ถือว่าได้ทำ
win

 
เท่านี้ก่อน ยังมีหลายสิ่งอย่างอีกมาก แพลนไว้ แต่จะไปทำช่วงกลางปี (ที่มีทุนบ้างแล้ว)

[Japan] JR Hokkaido กับเด็กสาวคนหนึ่ง

สรุปเรื่องรถไฟ JR ฮอกไกโด กับเด็กสาวแห่งสถานีไกลโพ้น (เท่าที่เข้าใจเอง)
1)ข่าวที่ออกในสื่อญี่ปุ่น ลงชื่อสถานีถูกต้อง ไม่ผิดเพี้ยน แต่ข่าวที่ออกในสื่อต่างประเทศ แพร่ไปก่อนจาก CCTV ของจีน ซึ่งลงชื่อสถานีผิด
2)ข่าวลงในสื่อท้องถิ่นฮอกไกโดก่อน มีนักข่าวไปสัมภาษณ์เด็กสาวคนนี้ลงในสื่อท้องถิ่นด้วย แล้วคนญี่ปุ่นเอาไปขยายความต่อในทวิตเตอร์
3)JR ฮอกไกโด วางแผนจะปิดสามสถานีเมื่อสิ้นปีที่ผ่านมาจริง คือสถานี Kami-shirataki, Kyu shirataki, และ shita shirataki
4)เด็กสาวคนนี้ขึ้นที่สถานี Kyu shirataki แต่ในสื่อที่แปลจากสื่อจีน จะลงเป็นว่า เด็กสาวขึ้นจากสถานี Kami shirataki โดยเธอเป็นเพียงคนเดียวที่ขึ้นจากรถไฟสถานี Kyu shirataki จริง
5)ที่ชุมชนตรงสถานี Kami shirataki ก็มีเด็กนักเรียนนั่งรถไฟไปเรียน จำนวนสิบกว่าคน
6)เมื่อ JR ฮอกไกโด ประกาศปิดทำการแล่นในสามสถานี ในบล็อกของเหล่าโอตาคุรถไฟ บอกว่า กันยายน 2015 มีการส่งหนังสือร้องเรียนไปเพราะถ้าปิดสถานี เด็กประถมกับมัธยมจะได้รับผลกระทบ ซึ่งชุมชนที่ส่งเรื่องร้องเรียนไปคือ ชุมชนตรงสถานี Kami shirataki (ที่มีเด็กขึ้นประมาณสิบกว่าคน)
7)อันนี้ความเห็นส่วนตัว คาดว่า JR ฮอกไกโด เมื่อได้รับจดหมายร้องเรียน แล้วเลยคำนึงถึงผลกระทบต่อเด็กนักเรียน จึงเลื่อนเวลาดำเนินการของทั้งสามสถานีออกไป จนกว่าเด็กนักเรียนจะเรียนจบ
8)เด็กสาวแห่งสถานี Kyu shirataki ได้รับผลประโยชน์จากการเลื่อนครั้งนี้เช่นกันกับเด็กคนอื่นๆ
9)สื่อท้องถิ่นสัมภาษณ์เธอ
10)เรื่องเริ่มเล่าไปในแนวทางว่า JR ฮอกไกโด เลื่อนทำการเพื่อ “เด็กสาวแห่งสถานีไกลโพ้นที่เป็นผู้โดยสารคนเดียวในสถานีนั้น”
11)ข่าวไม่ได้ผิดเสียทั้งหมด แต่ JR ฮอกไกโดมีแผนปิดสามสถานี และมีคนร้องเรียน JR เลยยังไม่ปิดทั้งสามสถานี และรอให้เด็กนักเรียนเรียนจบก่อน
12)ดังนั้น JR ฮอกไกโด ยอมเลื่อนเพื่อเด็กๆ แต่ไม่ใช่ “เด็กคนเดียว” (แต่เด็กคนนั้นก็ได้ประโยชน์จากการเลื่อนเช่นกัน)
13)ซึ่งนั่น เป็นสิ่งที่น่ายกย่องมากเพียงพอแล้ว
จบ.

[film] Snap: Lost Decade of modern Thailand

 

Snap (2015, Thailand, Kongdej Jaturanrasmee)

A+(100 times)

12507400_10153435159448235_6766345795076627635_n
Snap Movie (2015)

 

In the surface, Snap seems to be a romantic love story about two high school friends who reunited when their old friends get married back in their (former) hometown.

But like we all know, Kongdej’s films are always driven by politics, the fate of small people that were swung by something which is more powerful than ‘love’; it is politics.

Between the military coups d’etat in 2006 and 2014, it is the eight years time, eight years that seems like everything in Thailand was snapped, stopped, and stolen.

“Eight years, but we didn’t achieve anything”, the woman character said in one remarkable scene in the aquarium.

Not because I am Thai, but indeed, since the military coup in 2006, Thailand has become one of the most interesting countries for scholars who are interested in the ‘memory building’, since we, people who live in the country, choose to forget something, create new grand narrative history, and sometimes not so sure, about what happened around us.

Snap was first released in Tokyo International Films Festival last year, before it returned to its home country in the end of 2015. Since it was surrounded by many domestic political events in the film, I wonder how the foreign audiences would interpret it.

Snap discusses a lot about the distorted “memory”, how we remember, forget, and interpret things, events, and people. Sometimes, in the same event, it is shocking to realize that what we choose to remember is totally different.

If you are interested to know more about modern Thailand in the Lost (memory) Decade, this is the film for you.

[status] 31.12.2015 – BKK Problems

กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่แปลกมากที่รถไฟฟ้า/ใต้ดิน ไปไม่ถึงสถานีขนส่งใหญ่เช่น หมอชิต2 หรือสายใต้ใหม่ใหม่

คนกรุงเทพฯ แปลกกว่า ที่ทนอยู่กับการโดนกระทำแบบนี้ได้ (ชั้นก็ด้วย)

วิธีคิดของพวกไหนก็ไม่รู้ ที่เวลาสร้างอะไรพวกนี้มักจะขาดเกิน พร้อมเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่า ที่รถไฟฟ้า/ใต้ดินไม่ลงสถานีนี้เพราะมีมาเฟียคิวรถตู้/มอเตอร์ไซค์ หรืออื่นๆ คุมอีกที ไปกดดัน จนคนมีอำนาจเห็นหัวมากกว่าเรา

กรุงเทพฯ ควรอย่างยิ่งที่ต้องมีขนส่งมวลชนที่วางใจได้เรื่องเวลา ถึงทั่วทุกจุดหมายใหญ่สำคัญ สถานีขนส่งเป็นจุดหมายสำคัญ เพราะมันรองรับคนเรือนแสนหรือมากกว่าในช่วงเทศกาล

เช้านี้บอกแท็กซี่ว่าจะไปนครชัยแอร์ ตอน7โมงที่ท้องถนนดูโล่ง โดนปฏิเสธไป 5คัน เกือบถอดใจนั่งมอเตอร์ไซค์ คันที่6 ก็ตอบรับพอดี

แท็กซี่นิสัยไม่ดีก็เรื่องนึง เราลืมเรียกผ่าน GrabTaxi อีกทีก็เรื่องนึง ชีวิตคนจะไปสถานีขนส่ง (โอเคนครชัยแอร์ไม่ใช่ขนส่ง แต่มั่นใจว่าถ้าเรียกไปหมอชิต2นี่จะโดนปฏิเสธหนักแน่นกว่านี้) ไม่ควรถูกแขวนบนทางเลือกนี้ แท็กซี่ไม่ถือเป็นขนส่งมวลชนสาธารณะ (ในความเห็นของเรา) และรัฐบาลท้องถิ่นกรุงเทพฯ ไม่ควรต้องทิ้งเราให้รับมือกับสิ่งเหล่านี้อย่างเดียวดาย

แท็กซี่นั้นแพงกว่าขนส่งมวลชนเช่นรถไฟฟ้า/ใต้ดินแน่ ถ้าจะเรียกไปสถานีขนส่ง แต่ถ้าโดนแท็กซี่ปฏิเสธทุกคัน คนที่รีบต้องไปให้ทันรถทัวร์กลับบ้านช่วงเทศกาล มีทางเลือกอะไรเหลืออีกนอกจากมอเตอร์ไซค์ ซึ่งอัตราเหมาต่อรอบนั้นสูงกว่าแท็กซี่

ไม่อยากพูดซ้ำซากว่าอยู่ญี่ปุ่นไม่เคยเจออะไรแบบนี้ ความเสี่ยงที่คาดเดาไม่ได้ หาตั๋วกลับบ้านให้ได้ก็อีกเรื่อง หารถไปถึงสถานีขนส่งก็อีกเรื่อง ดูเป็นชีวิตที่รัฐไม่รับผิดชอบเลย ตอนอยู่ญี่ปุ่นช่วงปิดพีคๆ อย่าง golden week ต้น พ.ค. หรือช่วงซากุระบานที่เกียวโตก็ไม่เคยเจอ

ย้ำอีกรอบว่าเรื่องแท็กซี่หรือมอเตอร์ไซค์เหี้ยก็อีกเรื่อง และเรื่องที่รัฐ(บาลท้องถิ่น)ควรจัดสรรบริการสาธารณะที่ทั่วถึงและได้ประสิทธิภาพก็อีกเรื่อง เราจัดลำดับปัญหาอันหลังเร่งด่วนกว่าอันแรก เพราะเราคิดว่านั่นคือสิ่งพื้นฐานที่รัฐควรมอบให้ ไม่ต่างกับไฟฟ้า น้ำประปา ไวไฟ

บ่นในวันสุดท้ายของปี เรื่องซ้ำซากที่ไม่คิดว่าต้องบ่น ปัญหาเดิมๆ ที่ทำให้ไม่อยากอยู่ กทม. แต่ก็อยากเหลือความหวังไว้บ้าง ขนาดญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ยังดีลกันได้เรื่องคอมฟอร์ทวูแมน ที่ก็เซอร์ไพร้สคนรุ่นใหม่ทั้งสองประเทศมาก เราก็ยังคิดว่าเราน่าจะช่วยกันส่งเสียงกดดัน/ผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีกันได้บ้าง

จะไม่บ่นเรื่องไฟ LED ของหม่อม คิดว่าเป็นคนละงบ/เรื่อง แต่จะบ่นว่าหม่อมไม่รับผิดชอบ ไม่proactive ในการจะทำให้ชีวิตคน กทม. ดีขึ้นจริงๆ

2015 : ข้าวจากนาพ่อ

2015 (1)

เป็นปีที่ได้ทำแบรนด์ข้าว ไม่ใช่สิ ได้ส่งข้าวให้กับแบรนด์ต่างหาก เป็นข้าวเหนียวและข้าวหอมมะลิจากนาพ่อ ข้าวจากนาปีที่เตรียมตอนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวตอนพฤศจิกายน ข้าวที่ปลูกกันสองคน คือพ่อกับน้าหนอม

ย้อนความไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์​ ช่วงปิดเทอมที่กลับไทย (กลับไทยทุกปิดเทอม อยู่ราวๆ สองเดือนอยู่ๆ พี่ตาก็โทรมา บอกว่าสนใจทำแบรนด์ข้าวเขาวงขาย รู้สึกประหลาดใจมากที่พี่ตารู้จักข้าวเขาวง พี่ตาบอกว่ารู้จักเพราะติ๊กโพสในเฟซบุ๊กนี่แหละ ทำให้รู้สึกว่า การพยายามโพสเล่าเรื่องบ้านเกิดตัวเอง ก็มีคนเห็นผ่านตาและจดจำได้อยู่บ้าง

จะทำข้าวขายก็ต้องมีวัตถุดิบ จะมีวัตถุดิบก็ต้องรู้จักชาวนา เลยส่งไม้ต่อให้พี่ตาคุยกับพ่อ พ่อทำนาทั้งข้าวเหนียวเขาวงและข้าวหอมมะลิ นาของพ่อเป็นนาหว่าน ไม่ใช้สารเคมี แต่เพราะใช้ปุ๋ยคอกผสมกับปุ๋ยเคมีอยู่ เลยไม่อาจเคลมได้ว่าเป็นนาอินทรีย์ นาหว่านของพ่อเป็นนาหว่านที่ได้ต้นข้าวเหมือนกับนาดำเลย เพราะพ่อหว่านมา ปีแล้ว พัฒนาเทคนิคมาเรื่อย พ่อเรียนจบด้านการเกษตรมา เคยเป็นเกษตรกรอำเภอ พ่อคลุกคลีกับเรื่องพวกนี้มาทั้งชีวิต และแน่นอน เวลาทำนา พ่อพยามควบคุมค่าใช้จ่าย ที่เลือกทำนาหว่านเพราะไม่ต้องจ้างคนมาปักดำ นา 20 ไร่ พ่อกับน้าหนอม ทำกันอยู่ คน

เดือนพฤษภาคม คือเดือนที่เริ่มต้นเตรียมนา ลงปุ๋ย และหว่านกล้าแล้ว คราวนี้เป็นการหว่านโดยหวังผล หวังผลว่าเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วข้าวส่วนหนึ่งจะถูกแพ็กขายให้คนกรุงได้กินกัน ปกติแล้วพ่อก็ขายส่งให้โรงสีในจังหวัด ได้ราคาตามตลาดนั่นแหละ แต่ปีนี้ พอต้องส่งให้พี่ตา พ่อก็รู้สึกตื่นเต้น คงรู้สึกเหมือนได้ลองตลาดใหม่ล่ะมั้ง

กันยายนคือช่วงเวลาที่ข้าวนาปีจะสวยที่สุด มันเป็นช่วงที่ข้าวเริ่มออกรวงเหลือง สลับกับบางส่วนที่ยังเขียวอยู่ มันดูสวยดีและเหมาะกับการเป็นฤดูท่องเที่ยว เราเรียนจบกลับมาในช่วงนี้ และพี่ตาก็พาครอบครัวแวะเยี่ยมนาที่เขาวงและนาคูในช่วงนี้

นาพ่อไม่ได้กว้างใหญ่ จริงๆ มีแค่สิบไร่ และอีกสิบไร่เป็นของอา แต่อาไม่ได้ปักหลักอยู่บ้าน อาเลยยกให้พ่อเป็นคนจัดการ แม้ปีนี้ประเทศไทยจะเจอภัยแล้ง แต่นาหว่านของพ่อก็ยังสมบูรณ์อย่างที่มันควรเป็น พ่อไปนาทุกวัน เดี๋ยวก็เดินลงนา เดี๋ยวก็ถอนหญ้า เราคิดว่าพ่อคือชาวนามืออาชีพ …​ไม่ต่างกับเวลาเราเรียกคนอื่นๆ ในสังคมว่า มืออาชีพ

เดือนพฤศจิกายน ข้าวถูกเก็บเกี่ยว ปีนี้พ่อจ้างรถเกี่ยวข้าวมาเก็บเกี่ยว เมื่อได้ข้าวมาก็ต้องนำมาผ่านกระบวนการตากให้แห้ง จากนั้นพ่อก็ขนบางส่วนไปโรงสีชุมชน ทำการสี และจัดส่งให้พี่ตาต่อไป

ปีใหม่ที่จะถึงนี้ ถ้าใครไม่รู้จะซื้อของขวัญอะไรให้คนอื่น เราอยากขอพื้นที่นำเสนอข้าวจากเขาวง อำเภอเล็กๆ ของจังหวัดเล็กๆ ที่สมัยเข้ากรุงเทพฯ ใหม่ๆ เคยมีคนถามเราว่า​กาฬสินธุ์อยู่ภาคไหนเหรอ

กาฬสินธุ์เป็นจังหวัดเล็กจริงๆ และหลายคนมักคิดไม่ออกว่ากาฬสินธุ์ตั้งตัวอยู่บนพื้นที่ส่วนไหนของแผนที่ประเทศไทย

แต่ถึงเป็นอำเภอเล็กๆ จากจังหวัดเล็กๆ แต่เราก็ปลูกข้าวกันมาอย่างยาวนาน 

และเราอยากให้หลายคนได้ลองกินข้าวจากเขาวงดู

 

 

สนใจข้าวที่ปลูกจากดินและน้ำของอำเภอเขาวงและอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์

สั่งได้ที่  arroyza : https://www.facebook.com/Arroyza-1559854784263744/

S__87515138