[ว่าด้วยมาตรฐานการทำงานสื่อในยุคนี้]- Note to Self / แลกเปลี่ยน & ถาม

DKEJn6lVAAEFizM.jpg-large-2

 

 

[ว่าด้วยมาตรฐานการทำงานสื่อในยุคนี้]
– Note to Self / แลกเปลี่ยน & ถาม –
กลับมาทำงานด้านสื่อได้สักพักแล้วค่ะ หลังจากไม่ได้ทำมานาน พบว่ามีปัญหาจุกจิก และข้อสงสัยบางอย่าง ที่พยายามหาคำตอบ (เพื่อสร้างมาตรฐาน) ในการทำงาน แต่บางอันก็ยังหาคำตอบไม่ได้ ลองถามเพื่อนๆ ที่อยู่ในวงการเดียวกัน ก็พบว่า บางอันมันตอบยากจริงๆ … โดยเฉพาะสื่อเล็กๆ ที่ไม่ได้มีเงินมาก
ขอลิสต์สิ่งที่เราเจอและยังสงสัยอยู่ดังนี้
1] การใช้ภาพ:
1.1]ถ้าเป็นภาพสัมภาษณ์ หรือภาพที่ต้องถ่ายขึ้นใหม่ อันนี้จะไม่มีข้อสงสัยอะไร เพราะจ้างช่างภาพ บรีพงาน และถ่าย ลิขสิทธ์ภาพเป็นของผู้จ้างงาน (คิดว่านะ) แต่ถ้าจะมีการใช้ซ้ำ หรือนำไปใช้กับแหล่งอื่น ต้องขออนุญาตช่างภาพก่อน และต้องลงเครดิตด้วยว่าใครถ่าย
1.2]ภาพจากอินเตอร์เน็ต ประกอบข่าว ประกอบคอลัมน์ ส่วนใหญ่เป็นคอลัมน์แนวจุ๊กจิ๊ก แบบข่าวน่ารัก ข่าวน่าสนใจ ข่าวแปลกๆ แบบ boredpanda ไรงี้
แยกเป็น
1.2.1]ภาพไม่ติดลิขสิทธิ์ (ขึ้นใน google images ว่า ใช้ในเชิงพาณิชย์หรือดัดแปลงได้)
อันนี้น่าจะไม่มีปัญหาใช่ไหม แต่ปัญหาคือ
A) ภาพที่อนุญาตให้ใช้ได้ มักมีขนาดเล็กมาก ลงออนไลน์ได้ แต่ลง print ไม่ได้เลย
B) ภาพที่ไม่ติดลิขสิทธิ์มักไม่สวย และเนื้อหาภาพสื่อสารไม่ดี
1.2.2]
ภาพติดลิขสิทธิ์ (ขึ้นว่าห้ามดัดแปลงและห้ามใช้ในเชิงพาณิชย์)
อันนี้ที่ถูกต้องก็น่าจะเป็น
C) ขออนุญาตใช้ภาพก่อน และก็ควรลงลิงก์ที่มาของภาพด้วย
D) ควรได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น อีเมล ถ้ามีค่าใช้จ่ายก็จ่ายไป
แต่ปัญหาที่เจอคือ
E)หาต้นทางของภาพไม่เจอ ภาพที่เจอในเว็บอื่นที่เขาใช้ อาทิ techinasia, เว็บห้องสมุดบางรัฐของอเมริกา, อื่นๆ บางทีเว็บที่ลงก็ไม่ใช่ต้นทาง ต้องลิงก์ไปหาต้นทาง แต่บางทีเว็บนั้นไม่ได้ลงลิงก์เว็บต้นทางไว้ ก็ทำให้อาจติดต่อเจ้าของลิขสิทธิ์จริงไม่ได้อีก
F)ใช้เวลานานในการติดต่อต้นทาง อาจจะ 2-3 วันทำการ ซึ่งถ้าคุณเป็นสื่อ platform online อาจจะไม่ทัน / สื่อ print ก็อาจจะไม่ทัน เพราะมีกระบวนการทำงานนาน … ทางออกอาจจะเป็น การเลือกใช้ภาพอื่นแทน
1.2.3]
อันนี้จะเป็นปัญหาต่อการตัดสินใจมากสุด นั่นคือภาพ
G) ภาพของ public figure ที่ไม่ขึ้นว่าติดหรือไม่ติดลิขสิทธิ์ มีอยู่ในอินเตอร์เน็ต และบางทีไม่ระบุแหล่งที่มา
เช่น ภาพ  Elon Musk, Mark Zuckerberg
H)ภาพ public figure ที่เจ้าตัวโพสลง social media เอง เช่น (ตัวอย่างเดิม) Elon Musk, Mark Zuckerberg
คำถามคือ ถ้าเป็น Public Figure แล้ว ในฐานะสื่อ เราเอารูปเขามาใช้ได้เลยไหม เพราะหลายๆ ภาพมันไม่ระบุที่มา แต่ถ่ายในงานที่ public มากๆ  เช่น Elon Musk ตอนที่สังเกตการณ์การปล่อย Falcon 9, หรือภาพที่ Mark Zuckerberg โพสลง FB ของเขา เราเอามาลงสื่อเราเลยได้ไหม
เพราะคนเหล่านี้ ถ้าติดต่อขอใช้ภาพ แน่นอนว่า เขาไม่มีเวลาอ่าน หรือตอบ
ยกตัวอย่างเหตุการณ์
I) กรณี Elon Musk ทวีตความเห็นตอบกลับเรื่อง AI ของ Mark Zuckerberg
J) จากนั้นสื่อทุกเจ้าก็เล่นข่าวนี้กัน
K) ถ้าเป็นสื่อใหญ่ แนวสถาบันไปแล้ว เช่น cnn, nhk, bangkokpost, thairath (?) ไม่ค่อยมีปัญหา เพราะเขามีภาพ stock อยู่ในมืออยู่แล้ว (เช่น ภาพ AP)
L)แต่สื่อออนไลน์ที่เล็กหน่อย หรือไม่ใหญ่มาก เช่น the matter, the momentum, the standard, waymagazine (ขออ้างอิงนะคะ บก.ตุ่น) เขาใช้ภาพจากไหนอ่ะ เป็น stock ไหม
M)ถ้าเป็นภาพ stock หรือขออนุญาตแล้ว ต้องระบุที่มาอย่างเคร่งครัดทุกครั้งไหม
N)ถ้าได้ภาพ Musk มาจากอีกแหล่ง แล้วภาพ Zuckerberg มาจากอีกแหล่ง ก็ต้องลงทั้งสองแหล่งใช่ไหม
O)ถ้าเป็นเว็บแนวนี้ล่ะ เช่น sudsapda, bkkmenu (เผื่อเขาอยากลงข่าวนี้โว้ย) หรือแม้กระทั่ง blognone, e27 พวกนี้ใช้ภาพจากแหล่งไหนอ่ะ
กรณี public figure แบบดารา นักร้อง นางแบบ และนายแบบ
 P)แล้วถ้าเป็นสื่อใหม่เลย ไม่ใช่สถาบัน แต่วาง position แนวสื่อ เช่น http://www.hallyukstar.com อันนี้ ถ้าเขาเอาภาพมาลงทั้งใน เว็บ, fb, twitter, instagram, etc ภาพที่ใช้ลงเว็บ กับ twitter ความเคร่งครัดจะต้องต่างกันไหม (เหมือนคนจะชอบมองว่า ถ้าลง print ต้องเข้มงวดมาก, ลง web จะเข้มตามมา, และลง social media จะเข้มน้อยลง หรือบางคนไม่ใส่ใจเรื่องลิขสิทธ์ภาพไปเลย)
Q)ถ้าต้นทางของภาพ เป็นภาพแนวแอบถ่าย เช่น ภาพ Dispatch แอบถ่ายคังแดเนียลเดทติ๊กต่อกนูน่า (เอ่อ มรึงคะ) แล้ว Dispatch เอาลงสื่อตัวเอง จากนั้นทุกเจ้าเกี่ยวกับเกาหลีที่ต้องลงภาพนี้ ก็ต้องใช้ภาพจาก Dispatch แน่ๆ แต่ประเด็นคือ การเอามาใช้ ต้องขอ Dispatch เป็นลายลักษณ์อักษรไหม, แล้ว Dispatch ที่แอบถ่ายภาพเขาโดยไม่ได้ขออนุญาตก่อน มีสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของภาพแค่ไหน
R)ถ้ามีคนทำ twitter account แนวสื่อ เช่น korseries เขามีสิทธิเอาภาพจาก dispatch ไป repost ใหม่โดยไม่ระบุแหล่งที่มาได้ไหม (แต่ในภาพที่ repost จะมีลายน้ำ dispatch อยู่)
แล้วกรณีทำเว็บหรือเป็นสื่อเกี่ยวกับหนัง ซีรีส์ล่ะ?
S)ถ้าพูดถึงซีรีส์เรื่องหนึ่ง แล้วเราแคปจากหน้าจอคอมพ์มาใช้เลยได้ไหม การแคปภาพ ลิขสิทธิ์จะอยู่ที่ใคร? เช่น ถ้าเราเป็นลูกค้า netflix เราจ่ายรายเดือนแล้วอ่ะ เรามีสิทธิ์ดู แล้วเราแคปภาพ มาประกอบบทความออนไลน์ เช่น วิเคราะห์ Game of Thrones ได้ไหม, ต้องส่งอีเมลไปขออนุญาตจาก Netflix ไหม ว่าเราแคปภาพดังนี้นะ ขอเอามาลงนะ เป็นต้น
ภาพ Logo แบรนด์
T)ภาพ logo สินค้า เช่น Facebook uber, grab, McDonald’s เราใช้ได้เลยไหม ต้องขออนุญาตไหม
คิดว่า เรื่องที่ถูกต้องคือ ต้องขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง หรือไม่ก็จ่ายตังค์ซื้อมา แต่ปัญหาคือ การที่สื่อต้องการความเร็วในยุคนี้ ทำให้บางทีมันรอไม่ได้รึเปล่า (เช่น ข่าว Musk ทวีตตอบ Zuckerberg โห กว่าจะอีเมลไปขอใช้ภาพ Musk กับ Zuckerberg คงไม่ได้ลงอ่ะ) แล้วมาตรฐานที่ควรยึดอยู่ตรงไหน
แบ่งคำถามเป็น
ก.กรณีไม่ใช่ public figure
ข.กรณี public figure
ค.กรณี brand
พอล่ะ เหนื่อยพิมพ์
ภาพประกอบ เอามาจาก twitter ซึ่งก็มีคน retweet อีกที แต่ต้นทางมาจาก IG ของ Fashion Editor ของ Instyle Korea แน่นอนว่า คนเอามาลง twitter คงไม่ได้ขออนุญาตนางแน่ๆ .. และที่ชั้นเอามาโพส ชั้นก็ไม่ได้ขอใครเลย อ้าว…
ภาพที่เห็น คือคังแดเนียล so hot on Instyle Korea cover
ฝากร้านด้วยนะคะ
#ลูกก็คือลูก
ประเด็นทุกอย่างคือตอนท้ายนี่แหละ
อันยองงงงง (เป็นสำเนียงปูซาน)

ใส่ความเห็น